การเรียนการสอนแบบมุ่งเน้นการลงมือทำ

รูปแบบการเรียนรู้นยุคนี้มีมากมาย แต่ละรูปแบบต่างก็ถูกออกแบบและพัฒนามาเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยให้ดีขึ้น รูปแบบของการเรียนการสอน แบบไฮสโคป กำลังเป็นรูปแบบการเรียนและการสอนที่มีความน่าสนใจและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นเรื่องของการลงมือทำผ่านกิจกรรมที่หลากหลายอีกทั้งยังมีสื่อการสอนและการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาในตัวเด็กโดยที่ครูผู้สอนจะปล่อยให้เด็กริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆได้อย่างอิสระด้วยตัวเอง ซึ่งหลักการเรียนการสอนแบบนี้มีแนวคิดมาจากทฤษฎีทางจิตวิทยาของเพียเจต์ ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาทางสติปัญญาที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ และนักเรียนจะได้ลงมือสร้างสรรค์ความรู้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ผ่านการกระทำกิจกรรมต่างๆของตัวเองและมีการประเมินผลงานอย่างมีแบบแผนอีกด้วย หัวใจสำคัญของการเรียนแบบไฮสโคป สิ่งสำคัญของการเรียนรู้แบบไฮสโคปให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุดมีหัวใจสำคัญ 3 ประการได้แก่ การวางแผน  ซึ่งในการเรียนการสอนนั้นจะมีการให้เด็กกำหนดแนวทางในการปฏิบัติหรือทำกิจกรรมรวมไปถึงวางแผนการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือทำตามในสิ่งที่ตัวเองสนใจโดยอิสระ ซึ่งครูผู้สอนจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กสนทนากับครูหรือมีการสนทนากับเพื่อนร่วมกลุ่มภายในชั้นเรียนเพื่อวางแผนแลกเปลี่ยนสำหรับการทำกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมซึ่งแน่นอนว่าในกระบวนการนี้เด็กทุกคนต้องมีส่วนในการวางแผนว่าจะทำอะไรไม่ทำอะไรอย่างไรและทุกคนจะต้องมีโอกาสในการเลือกและตัดสินใจด้วยตัวเอง ซึ่งกระบวนการนี้จะมีการบันทึก รูปแบบกิจกรรมด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กกระบวนการเรียนรู้ด้วยการวางแผนเหล่านี้จะส่งเสริมความรู้สึกมั่นใจในตัวเองการควบคุมตัวเอง อีกทั้งยังทำให้เด็กมีความสนใจในการเรียนสนใจในกิจกรรมที่ตัวเองได้เป็นผู้ริเริ่มนอกจากนี้แล้วเขายังจะมีความภูมิใจในตัวเองมากอีกด้วย การปฏิบัติ  เป็นการเรียนรู้โดยให้เด็กลงมือทำกิจกรรมตามแผนงานที่วางเอาไว้ได้อย่างอิสระเสรีแต่อาจจะมีกรอบเวลาเป็นตัวกำหนดโดยมุ่งเน้นรูปแบบการทำกิจกรรมให้เด็กได้ช่วยกันคิดทดลองทำและทดลองหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างมีจุดมุ่งหมายและเป้าประสงค์ที่ชัดเจนการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัตินั้นจะช่วยให้เด็กได้เกิดประสบการณ์ค้นพบความคิดใหม่ๆโดยที่สุดจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ชี้แนะและให้คำปรึกษามากกว่าที่จะลงมือทำหรือจัดการด้วยตัวเองเพื่อให้เกิดผลสำเร็จหลังจากนั้นจะมีการทบทวนการทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น กระบวนการสะท้อนผลงานของตัวเอง  เป็นกระบวนการที่ทำให้เด็กได้ลงมือทำผ่านการพูดคุยหรือแสดงผลต่างๆ หรือพรีเซ้นตัวเองว่าได้ปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางเอาไว้หรือไม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพราะเหตุใดมีจุดประสงค์ด้วยเรื่องใดเพื่อให้เด็กได้รู้จักกระบวนการคิดและวางแผนไปสู่การปฏิบัติงานให้ได้ตามวัตถุประสงค์มากที่สุดรวมถึงการฝึกการเล่าประสบการณ์ต่างๆที่ได้ลงมือทำด้วยตัวเองสิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นกระบวนการฝึกการคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลให้กับตัวเด็กเป็นอย่างมากเลยล่ะ

Continue Reading